Author Archive

กรมการแพทย์แนะวิธีเลี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง”

กรมการแพทย์  โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  ชี้สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป แนะเลี่ยงอาหารไขมันสูง อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ และเนื้อสัตว์แปรรูป นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็ง  ที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรส่งผลให้แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่สาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี สำหรับประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็น 1 ใน 5   ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี ปัจจุบันพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง แพทย์หญิงนภา​ ศิริวิวัฒนากุล​ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ​ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค เช่น อาหารไขมันสูง อาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง

นิ่วทอนซิล ไม่อันตรายแต่ไม่ควรละเลย

การทำความสะอาดช่องปากเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ หากไม่ได้รับการดูแลอาจมีเศษอาหารติดอยู่บริเวณซอกหลืบของต่อมทอนซิลจนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ จับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่า “นิ่ว” บริเวณต่อมทอนซิล ทำให้เกิดปัญหามีกลิ่นปาก เกิดการระคายเคือง เจ็บคอ ไอเรื้อรังหรือทำให้ต่อมทอนซิลบวมได้ นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า นิ่วทอนซิลเกิดขึ้นได้ในคนทั่วไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาทอนซิลอักเสบหลายครั้งมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากการติดเชื้อของทอนซิลทำให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อส่วนเกินมากขึ้น และเนื้อเยื่อเหล่านี้อาจก่อตัวเป็นซอกและร่องในต่อมทอนซิล จึงทำให้เซลล์ที่ตายแล้ว น้ำลายและเศษอาหาร    ต่าง ๆ ติดอยู่จนเกิดการรวมตัวของแบคทีเรียและเชื้อรา สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ จับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่เรียกว่านิ่ว โดยนิ่วทอนซิลเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของต่อมทอนซิล มีลักษณะเป็นก้อนสีเหลืองหรือสีขาวขนาดเท่ากับเมล็ดถั่ว โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแต่อาจทำให้เกิดกลิ่นปาก เกิดการระคายเคือง เจ็บคอ ไอเรื้อรังหรือทำให้ต่อมทอนซิลบวม หรือเจ็บบริเวณหู ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบของทางเดินประสาทร่วมระหว่างหูและต่อมทอนซิลได้                 แพทย์หญิงกัลยาณี วิทยเจียกขจร นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี 2 (รังสิต) กล่าวเสริมว่า สำหรับการวินิจฉัยนิ่วทอนซิลแพทย์จะวินิจฉัยโดยการใช้เครื่องมือตรวจที่

กรมการแพทย์แนะผู้ที่มีโรคประจำตัว เตรียมตัวอย่างไรก่อนทำฟัน

กรมการแพทย์  โดยสถาบันทันตกรรมแนะนำ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต หอบหืด หรือโรคประจำตัวอื่นๆ ควรแจ้งทันตแพทย์ที่ให้การรักษารับทราบ  ก่อนการวางแผนการรักษา และทำหัตถการต่อไป นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังและต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต หอบหืด ลมชัก      โรคกระดูกพรุน เป็นต้น ซึ่งในผู้ป่วยบางรายมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางทันตกรรม  จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาเป็นอย่างดี เพราะสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจดูแล และเป็นประตูนำไปสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดีอีกด้วย ด้าน ทันตแพทย์หญิง ดร.สุมนา โพธิ์ศรีทอง ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและต้องเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมแนะนำให้แจ้งให้ทันตแพทย์ที่ให้การรักษารับทราบถึงสภาวะโรคประจำตัวปัจจุบันของตนเอง ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต รวมถึงประวัติการใช้ยาประจำตัว ที่ต้องรับประทานหรือใช้ฉีด พ่น มาด้วย เนื่องจากผู้ป่วย    บางรายมักจะมียาที่แพทย์สั่งให้รับประทานเป็นประจำทุกวัน ซึ่งยาบางชนิดที่ผู้ป่วยได้รับอาจส่งผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง น้ำลายน้อย ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย หรือการรักษาในบางครั้งทันตแพทย์อาจจ่ายยาบางชนิด ซึ่งหากไม่มีข้อมูลว่าผู้ป่วยได้รับยาใดบ้าง     ยาที่จ่ายให้อาจไปส่งเสริมหรือลดประสิทธิภาพของยาที่ผู้ป่วยรับประทาน ทำให้มีผลกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยได้                    การให้ข้อมูลที่ครบถ้วน จะทำให้ทันตแพทย์สามารถวางแผนการรักษาและทำหัตถการได้อย่างปลอดภัย  ทันตแพทย์หญิงสายทิพย์ ลีวรกานต์ ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล กล่าวถึงการเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ดังนี้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม ผู้ป่วยควรให้ข้อมูลโรคประจำตัวและยาต่างๆ ที่ได้รับอย่างละเอียดกับทันตแพทย์ ที่มา : https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/193399

กรมอนามัย แนะฝนตก พกร่ม เลือกอาหาร-เครื่องดื่มสุขภาพ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพประชาชนในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะคนที่มีร่างกายอ่อนแอ แนะให้ดูแลสุขภาพ โดยเลือกกินอาหาร และดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งพกร่มเพื่อป้องกันเปียกฝนและโรคไข้หวัด         นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงหน้าฝนของประเทศไทยจะมีสภาพอากาศที่แปรปรวน บางวันฝนตก บางวันอากาศร้อนอบอ้าว อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ภูมิต้านทานลดต่ำลง โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงวัย และผู้ที่เป็นโรคประจำตัว ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้เป็นหวัด มีไข้ ไอ เจ็บคอได้ หากต้องออกไปนอกบ้าน ควรวางแผนการเดินทางและเตรียมตัว พกร่ม เสื้อกันฝนหรือหมวก เพื่อป้องกันไม่ให้เปียกฝน หรือควรเตรียมเสื้อผ้าไว้ผลัดเปลี่ยนในกรณีที่จำเป็นต้องลุยฝน เพราะการอยู่ในสภาพเปียกชื้น หนาวเย็นจะทำให้การรักษาสมดุลต่างๆในร่างกายเสียไป ทำให้เป็นหวัด คออักเสบ

กรม สบส. ชวนยุว อสม. ร่วมบอกต่อ รณรงค์ให้ความรู้ป้องกันไข้เลือดออกรับฤดูฝน ปี 2566

กรม สบส. ชวนยุว อสม. ร่วมบอกต่อ รณรงค์ให้ความรู้ป้องกันไข้เลือดออกรับฤดูฝน ปี 2566           กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) ชวน ยุว อสม.ร่วมบอกต่อ รณรงค์ให้ความรู้เพื่อนนักเรียน และบุคคลใกล้ชิดป้องกันตนเองจากยุงลาย นำหลัก 3 เก็บ 3 โรค มาใช้ขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ป้องกันการเจ็บป่วย และเสียชีวิต จากโรคไข้เลือดออกรับช่วงฤดูฝน ปี 2566          

Translate »