ประชาสัมพันธ์ Archive

กรมอนามัย “เตือน น้ำบาดาลโซดายังไม่เหมาะสมที่จะนำมาดื่ม ควรผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน”

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะประชาชนให้เลี่ยงนำน้ำบาดาลโซดาจากแหล่งน้ำดิบมาใช้ทั้งอุปโภค บริโภคโดยตรง เนื่องจากยังไม่ผ่านการทดสอบคุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการนำมาบริโภคตามเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภค ควรใช้น้ำที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพก่อน เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยมากกว่า นายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ รองอธิบดีกรมอนามัย  เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวที่ประชาชนเจาะบ่อบาดาลเจอน้ำโซดา รสซ่าติดลิ้น ซึ่งน้ำบาดาลดังกล่าวเป็นน้ำดิบที่ยังไม่ผ่านการทดสอบคุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการนำมาดื่ม ทั้งตามเกณฑ์คุณภาพน้ำบาดาลเพื่อการบริโภคและเกณฑ์เสนอแนะคุณภาพน้ำบริโภคเพื่อการเฝ้าระวังกรมอนามัย พ.ศ. 2563 ทั้งนี้แม้น้ำดังกล่าวจะผ่านการทดสอบคุณภาพน้ำจากห้องปฏิบัติการแล้ว อาจจะมีการปนเปื้อนทั้งสารเคมีและเชื้อโรค จึงต้องผ่านการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนนำมาดื่ม เช่น การตกตะกอน การกรอง และฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น           “สำหรับการขุดบ่อบาดาลตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด เขตน้ำบาดาลและความลึกของน้ำบาดาล พ.ศ. 2554 กำหนดให้ท้องที่ของแต่ละจังหวัดในราชอาณาจักรไทยเป็นเขตน้ำบาดาลและให้น้ำบาดาลที่อยู่ลึกจากผิวดินลงไปเกินกว่า

อย. เตือนประชาชนเลือกน้ำดื่ม น้ำแข็ง อย่างปลอดภัย ช่วงหน้าร้อน

นายแพทย์วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ในช่วงฤดูร้อน ประชาชนมีการบริโภคน้ำดื่มและน้ำแข็งเป็นจำนวนมาก หากไม่ระวังบริโภคน้ำแข็งที่ผลิตและเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม อาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้ออีโคไล แซลโมเนลลา วิบริโอ คอเลอเร่ และสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษได้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงแนะนำให้เลือกบริโภคน้ำดื่ม และโดยเฉพาะน้ำแข็ง ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท สะอาด มีการแสดงฉลากภาษาไทย ระบุรายละเอียดของชื่ออาหาร เลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิเป็นกรัมหรือกิโลกรัม วัน เดือน และปีที่ผลิต หรือควรบริโภคก่อน เป็นต้น โดยเฉพาะฉลากของผลิตภัณฑ์น้ำแข็ง ต้องมีข้อความว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” ด้วยตัวอักษรสีน้ำเงิน สำหรับการเลือกซื้อน้ำแข็งบดหรือน้ำแข็งหลอดที่ตักแบ่งหรือกดจากตู้จำหน่าย หรือเสิร์ฟตามร้านอาหาร

กรมอนามัย แนะ ประชาชนเลือกทำกิจกรรมทางกาย ช่วงเช้าหรือเย็น เลี่ยงโรคฮีทสโตรก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะ ประชาชนเลือกทำกิจกรรมทางกายกลางแจ้ง ช่วงเช้าหรือเย็น เลี่ยงโรคฮีทสโตรก ในช่วงหน้าร้อน หรือเลือกทำกิจกรรมในอาคารหรือในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และควรสวมชุดที่ระบายเหงื่อและความร้อนได้ดี และดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ                 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ปัจจุบันประชาชนหันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น โดยเลือกทำกิจกรรมทางกายกลางแจ้งในสวนสาธารณะมากขึ้น เช่น วิ่ง แอโรบิก ปั่นจักรยานเดินออกกำลังกาย ซึ่งช่วงหน้าร้อน สภาพอากาศมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ที่ทำกิจกรรมในที่กลางแจ้ง  เสี่ยงเกิดโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) ได้ง่ายมากขึ้น โดยอาการของโรคนี้คือ 1)

แนะประชาชนรับประทานข้าวแช่คลายร้อน มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิต

นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ขณะนี้หลายจังหวัดของประเทศไทย มีอากาศที่ร้อนอบอ้าวและจะร้อนเป็นพิเศษในช่วงเดือนเมษายน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขอแนะนำเมนูอาหารตำรับชาววัง ช่วยคลายความร้อนคือ ข้าวแช่ ซึ่งประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิดที่สำคัญคือ น้ำลอยดอกมะลิและข้าวสวยหุงด้วยน้ำใบเตย ซึ่งมะลิและใบเตย เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น มีสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เครื่องเคียงที่รับประทานคู่กับข้าวแช่คือ ลูกกะปิ ทำจากปลาย่าง มีส่วนผสมของหอมแดง ต้นหอม ข่า กระเทียม ตะไคร้ ผิวมะกรูด กระชาย พริกชี้ฟ้า สรรพคุณช่วยให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ป้องกันการเป็นลมในช่วงหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี พริกหยวกสอดไส้หมูสับห่อไข่ มีโปรตีนสูง บำรุงร่างกาย ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก หมูฝอย หรือเนื้อฝอย มีโปรตีนสูง

กรมอนามัย เตือน อินฟูเอนเซอร์ ทำคอนเทนต์ กินของดิบเสี่ยงเป็นพยาธิ อาหารเป็นพิษ แนะนำปรุงให้สุก ปลอดภัยกว่า

กรมอนามัย เตือน ขณะนี้บนสื่อออนไลน์มีอินฟูเอนเซอร์จำนวนมาก นิยมทำคอนเทนต์ กินอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ หวังเพิ่มยอดผู้ติดตาม อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดหรือมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ คลื่นไส้ อาเจียน แนะนำปรุงให้สุกก่อนกิน ปลอดภัยกว่า นายแพทย์สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีหญิงสาวรายหนึ่งกินอาหารสุดพิสดาร ด้วยการนำปูเป็นๆ ที่ยังมีชีวิตมาทำอาหารด้วยการนำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ และใช้มือหยิบปูที่ยังดิ้นอยู่เข้าปากกินสดๆ โดยมีจำนวนผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากนั้น กรมอนามัย จึงอยากเตือนว่าการบริโภคอาหารลักษณะนี้ถือว่าไม่ถูกสุขลักษณะและไม่ควรเลียนแบบ เนื่องจากการกินเนื้อสัตว์ดิบ เช่น ปูดิบหรือปูดอง กุ้งแช่น้ำปลา หรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ที่ใช้ความร้อนในระยะเวลาอันสั้น รวมถึงอาหารประเภทยำต่างๆ ที่มักจะรวนเนื้อสัตว์แค่พอสุกเท่านั้น แล้วใส่เครื่องปรุงและเน้นรสชาติที่เผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัด อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงได้รับไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิ อย่างพยาธิใบไม้ปอด

Translate »