การลงทะเบียนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง HT

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยเรียบร้อยแล้ว เราต้องมีการนำมาลงทะเบียนในระบบโรคเรื้อรังเพื่อเป็นข้อมูลในการให้บริการต่างๆไม่ว่าจะเป็นการรับยาต่อเนื่อง การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจตา เป็นต้น เรามาดูวิธีการเพิ่มหรือลงทะเบียนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ถูกต้องกันนะครับ 1. คลิกระบบงานเชิงรับ เลือกทะเบียนคลินิกพิเศษเบาหวาน/ความดัน 2.คลิกช่องความดันโลหิตสูงเพื่อลงทะเบียน 3.เลือกสถานะ ให้เป็น None selected ซึ่งสถานะทั้งหมด มี 10 รายการ ดังนี้ หาย ตาย ยังรักษาอยู่ ไม่ทราบ(ไม่มีข้อมูล) รอจำหน่าย/เฝ้าระวัง ขาดการรักษา ครบการรักษา โรคอยู่ในภาวะสงบ ปฏิเสธการรักษา ออกจากพื้นที่ 4.คลิก Refresh datacenter 5.คลิก Up date Datacenter 6.หากคนไข้ในทะเบียนโรคความดันโลหิตสูงมีไม่ครบ

การลงข้อมูลทันตกรรม

การบันทึกงานทันตกรรม เมื่อได้ให้บริการ หรือ ออกอนามัยโรงเรียน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขต้องมีการนำข้อมูลมาลงในส่วนของงานทันตกรรม เพื่อให้มีผลงานในส่วนของการตรวจสุขภาพฟัน การทำหัตถการต่างๆ มาดูวิธีการบันทึกข้อมูลงานทันตกรรมที่ถูกต้องกันนะครับ 1.เลือกปุ่มเมนู ระบบงานเชิงรับ เลือกOne stop service  ค้นหาชื่อ ผู้รับบริการ โดยค้นจาก ชื่อ-สกุล,HN หรือ ค้นตามที่อยู่ 2.กดปุ่ม ตกลง จะปรากฏผู้รับบริการที่ค้นหา และให้คลิก ส่งตรวจ จะปรากฎ หน้าต่างการส่งตัว 3.กรอกข้อมูลส่วน คัดกรอง,การวินิจฉัยโรค,ลงการจ่ายยา ให้ครบถ้วน 4.กรอกข้อมูล ส่วนทันตกรรม โดยระบุหัตถการ,ทันตแพทย์, รหัสซี่ฟัน, ค่าบริการ, รหัส ICD10,จำนวนซี่, จำนวนด้าน

การลงข้อมูลการเสียชีวิต

การบันทึกข้อมูลการเสียชีวิต เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญพอสมควร เมื่อมีผู้เสียชีวิตในเขตรับผิดชอบเกิดขึ้น ยังไงก็ดีการลงที่ถูกต้องจะส่งผลดีต่อการเลือกเป้าหมายประชากรในการวางแผนดำเนินงานต่างๆ มาดูวิธีการลงข้อมูลการเสียชีวิตที่ถูกต้องกันนะครับ 1.เลือกระบบงานบัญชี1 คลิกปุ่มค้นหา/แก้ไข แล้วเลือกคนที่เสียชีวิตจะลงข้อมูล 2.คลิกเปลี่ยนสถานะปัจจุบันเป็นเสียชีวิต คลิกวันที่จำหน่าย ตรงกับวันที่เสียชีวิต พร้อมทั้งคลิกเครื่องหมายเช็คถูก ตรงหน้าข้อความเสียชีวิต หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวให้คลิกสถานะ เป็นตาย และใส่เครื่องหมายเช็คถูก ว่าจำหน่าย พร้อมระบุวันที่จำหน่าย(วันที่เสียชีวิต)และคลิก บันทึก จะเปลี่ยนไปหน้าต่างถัดไป 3.ขยายภาพให้ดูชัดๆ  ตรงสีเหลืองๆนั้น เราต้องกำหนดให้ครบ 4.ให้บันทึกวันที่เสียชีวิต พร้อมทั้งระบุเวลาเสียชีวิต ดังภาพ -หากไม่ทราบรายละเอียดการเสียชีวิตให้คลิกตรงช่องว่างข้างหน้าข้อความดังกล่าว -ระบุสาเหตุการตาย ด้วยรหัส ICD 10 พร้อมวันที่เป็น -ระบุสถานที่เสียชีวิต ซึ่งตัวเลือกที่ระบุจะประกอบไปด้วย 1ในสถานบริการ 2นอกสถานบริการ -ระบุแหล่งข้อมูล ซึ่งตัวเลือกที่ระบุจะประกอบด้วย 1)ไม่ระบุ

การลงข้อมูลระบาดวิทยา(R506)

ข้อมูลทางระบาดวิทยาถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ในการเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ เพราะฉะนั้น ต้องมีการบันทึกและวิธีส่งออกที่ถูกต้อง มาดูวิธีการบันทุกข้อมูลทางระบาดวิทยาและวิธีการส่งออกที่ถูกต้องกันนะครับ 1.เมื่อเปิดโปรแกรม Hosxp_pcu แล้วเลือกปุ่มเมนู ระบบงานเชิงรับ เลือก One stop service 2.จะเข้ามาในงานระบบเชิงรับค้นหาชื่อ ผู้รับบริการ โดยค้นจาก ชื่อ-สกุล,HN หรือ ค้นตามที่อยู่ กดปุ่ม ตกลง จะปรากฏผู้รับบริการที่ค้นหา และให้คลิก ส่งตรวจจะปรากฎดังภาพถัดไป 4. กรอกข้อมูลส่วน คัดกรอง,การวินิจฉัยโรค,ลงการจ่ายยา ให้ครบถ้วน หมายเหตุ การวินิจฉัยโรคให้เป็นโรคที่มีรหัส 506 ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 81 โรค ซึ่งจะแทรกไว้ตอนท้าย 5.กดบันทึก หลังจากนั้นจะมีหน้าต่าง งานระบาดวิทยา

การเพิ่ม-ย้าย หมู่บ้าน

ในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบ เมื่อประชาชนได้มีการสร้างบ้านหลังใหม่เสร็จเรียบร้อย ต้องมีการเพิ่มบ้านเข้าไปในฐานข้อมูล Hosxp PCU  เพื่อให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน ขั้นตอนการเพิ่มมีดังนี้ครับ 1.คลิกระบบบัญชี1(กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ) 2.คลิกปุ่มเพิ่มหมู่บ้านตามรูป 3.กรอกข้อมูลหมายเลข1 เพิ่มหมู่ ข้อมูลหมายเลข2 เพิ่มชื่อหมู่บ้าน ข้อมูลหมายเลข3 เพิ่มที่อยู่; ตามรายการจะแสดง ตำบลในเขตอำเภอร้องกวางทั้งหมด หากคลิกปุ่มที่ 4 (all)  คือจะแสดง ตำบลทั้งหมดทั่วประเทศไทย แต่หากคลิกปุ่มที่5 คือ แสดงตำบล ในพื้นที่นั้นๆ ข้อมูลหมายเลข6 การกำหนดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปุ๋มที่7 เพื่ออัพเดทข้อมูลหมูบ้าน ทุกหลังคาเรือน คลิกปุ่มที่8 บันทึกข้อมูล หมายเหตุ คลิกปุ่ม เพื่อลบหมู่บ้าน(หมายถึง จะลบทุกหลังคาเรือนของหมู่บ้านนั้นๆ) การเพิ่มข้อมูลบ้านไม่ใช่เรื่องยากแต่ ต้องทำให้ถูกต้องซึ่งบทความนี้คงช่วยให้การเพิ่มข้อมูลนั้นมีความครอบคลุมและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

Translate »