ประชาสัมพันธ์ Archive

แพทย์ชี้แนะ..โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง…ภัยแฝงไม่ควรละเลย

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เผยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือโรคALS ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แนะออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หากมีอาการที่คล้ายจะเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจวินิจฉัย นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์  เปิดเผยว่า โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ โรคALS      เป็นอีกหนึ่งอาการผิดปกติที่ต้องระมัดระวัง ซึ่งเป็นภัยเงียบที่หลายคนมักมองข้าม โรคALSเกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทในสมองและไขสันหลังที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมีความผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อแขนและขาอ่อนแรงลง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด กล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรง หายใจลำบาก โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยโรคนี้มักจะเกิดในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด การรักษาทำได้เพียงบรรเทาอาการและประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ทรมานจากอาการเจ็บป่วย นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จะมีอาการ 3 ระยะ  ระยะเริ่มต้น จะรู้สึกว่า มือ เท้า แขนขาอ่อนหรือไม่มีแรง เช่น เดินแล้วล้มบ่อย ยกแขนข้างใดข้างหนึ่งไม่ขึ้น จากนั้นอาการจะเริ่มรุนแรงขึ้นโดยมีอาการกล้ามเนื้อแขนและขาลีบ รับประทานอาหารลำบาก  พูดไม่ชัด   ระยะที่สอง อาการจะหนักขึ้นจนลามไปถึงระบบหายใจ ทำกิจวัตรประจำวันได้ลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีอาการเหนื่อยง่ายจากกล้ามเนื้อช่วยหายใจอ่อนแรง และระยะสุดท้าย  ผู้ป่วยจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องให้อาหารและน้ำทางสายน้ำเกลือ และอาจเสียชีวิตเนื่องจากระบบหายใจล้มเหลว ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้แต่ต้องกินยาตามแพทย์สั่ง นอกจากนี้ผู้ดูแลต้องพยายามให้ผู้ป่วยออกกำลังกายทำกิจกรรม เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อลีบแบน เกิดแผลกดทับและการติดของข้อ พักผ่อนให้เพียงพอหลีกเลี่ยงความร้อน ละความเครียด รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก คนในครอบครัวและญาติต้องให้กำลังใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมีความสุข สำหรับการป้องกัน เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงทำให้ไม่สามารถป้องกันได้ ควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดี หากมีอาการเจ็บป่วยควรรีบพบแพทย์ทันที หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ควบคุมความเครียด หลีกเลี่ยงการรับหรือสัมผัสกับยาฆ่าแมลงหรือพวกโลหะหนักและรังสีรุนแรง ซึ่งจะกระตุ้นทำให้เซลส์เสื่อมสภาพและตาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หากสงสัยว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามต่อไป ทางสถาบันประสาทวิทยา เปิดให้บริการคลินิกเฉพาะโรคเอแอลเอส  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/193923

ข่าวประกาศ อย. ตรวจพบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ในผลิตภัณฑ์ข้าวตังหน้าสาหร่าย ตราเจ้าสัว รุ่

ข่าวประกาศผลการตรวจพิสูจน์อาหาร อย. ตรวจพบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ในผลิตภัณฑ์ข้าวตังหน้าสาหร่าย ตราเจ้าสัว รุ่นการผลิต IJ CTHA31022112170011 วันผลิต 2022/09/17 วันหมดอายุ 2023/09/16 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร ณ ด่านอาหารและยาท่าเรือกรุงเทพ ส่งออกโดยบริษัท โฮลซัมทรี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 46 หมู่ 9 ถนนมิตรภาพ ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยฉลากระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ดังนี้ “ผลิตภัณฑ์ข้าวตังหน้าสาหร่าย ตราเจ้าสัว (Rice Cracker with Flossy Seaweed) เลขสารบบอาหาร 30-2-00142-2-0049 รุ่นการผลิต IJ CTHA31022112170011 วันผลิต 2022/09/17 วันหมดอายุ

อย. จัดเสวนารับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์ GIP Plus

อย. จัดเสวนารับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการนำหรือสั่งผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ หลักเกณฑ์ GIP Plus และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพนำเข้า เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ บริการด้วยความโปร่งใสและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการและ สร้างความมั่นคงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างยั่งยืน วันนี้ (27 มิถุนายน 2566) ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธานเปิดงานการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการนำหรือสั่งผลิตภัณฑ์สุขภาพเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ หลักเกณฑ์ GIP Plus และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพนำเข้า ซึ่งเป็นอีกก้าว ในการพัฒนารูปแบบการทำงานต่อจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการ ณ ด่านอาหารและยา ซึ่งได้เปิดตัว “กระบวนการออกของง่ายกว่าที่คิด” ไปแล้ว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 หลักเกณฑ์

กรม สบส. จับมือกรมอนามัย หนุน อสม.เป็นทัพหน้าป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในแม่ตั้งครรภ์ ผ่านแอปสมาร์ท อสม.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ลงนามความร่วมมือกับกรมอนามัย ขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ในชุมชนและหมู่บ้านทั่วประเทศ หนุน อสม. เป็นแนวร่วมขับเคลื่อนติดตามสถานการณ์การเข้าถึงไอโอดีน ผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ท อสม. พร้อมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือน     วันนี้ (27 มิถุนายน 2566) ณ โถงอาคารชั้น 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรม สบส. และ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วยผู้แทนจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้แทนชมรม อสม.แห่งประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กรม สบส.และกรมอนามัย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านต้อนรับสถาบันเค อะโกร-อินโนเวท สนับสนุนการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางอาหาร ยา และสมุนไพร

กรมวิทย์ เปิดบ้านต้อนรับสถาบันเค อะโกร-อินโนเวท ภายใต้มูลนิธิกสิกรไทย ในการศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางอาหาร ยา และสมุนไพร เพื่อนำไปพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการฯ และเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจวิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาจากพืชยา ภายใต้โครงการน่านแซนด์บ็อกซ์วันนี้ (27 มิถุนายน 2566) นายแพทย์บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีห้องปฏิบัติการอ้างอิงของประเทศ มีการวิจัยพัฒนาทางห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล มีห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์สารสำคัญในผลิตภัณฑ์ การผลิตสารมาตรฐาน รวมทั้งให้บริการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ห้องปฏิบัติการมีการดำเนินงานด้านระบบคุณภาพและมีความสามารถทางวิชาการ นอกจากนี้ยังมีศูนย์ฝึกอบรมเพื่อความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์การแพทย์สำหรับงานวิจัย และสวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จึงสนับสนุนการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางอาหาร ยา และสมุนไพร ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ที่สนใจศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยพัฒนาต่างๆ เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทย

Translate »