ประชาสัมพันธ์ Archive

กรมอนามัย ชื่นชมเครือข่าย Smart City Smart Citizen มอบ 290 รางวัลทั่วประเทศ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบรางวัลภาคีเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้ชนะเลิศโรงเรียนต้นแบบ องค์กรต้นแบบ ผลงานวิชาการ จำนวนกว่า 290 รางวัลในพิธีปิดการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 “เมือง พลเมือง อัจฉริยะ : Smart City Smart Citizen” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมอัศวิน   แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เป็นประธาน      ทั้งนี้

“รวมพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด”

กรมการแพทย์ โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลกปี 2566 “รวมพลังไทย หยุดภัยยาเสพติด” เพื่อให้เยาวชนมีความรู้และตระหนักถึงโทษพิษภัยของยาเสพติด ร่วมแรงร่วมใจในการป้องกันปัญหายาเสพติด นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในทุกระดับที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลกค.ศ. 2016 (UNGASS 20 16) มีการปรับนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดเปลี่ยนกรอบความคิดจากสงครามยาเสพติดเป็นการใช้สาธารณสุขนำการแก้ไขปัญหา โดยเน้นการดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบบูรณาการ นำรูปแบบการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดมาใช้เพื่อควบคุมให้ดำรงชีวิตอยู่โดยไม่รบกวนสังคม ทั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้ทันสมัยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีแนวคิดในการกำหนดนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด กำหนดโครงสร้างและกลไกในการบริหารจัดการปัญหายาเสพติดของประเทศ การควบคุมยาเสพติด พืชเสพติด และการนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจอย่างเหมาะสม การลงโทษผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดที่เหมาะสม รวมถึงแก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติดโดยวิธีการทางสาธารณสุขแทนการใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยยึดหลักผู้เสพคือผู้ป่วยที่ควรได้รับการช่วยเหลือให้รับการบำบัดรักษา ตลอดจนมีการติดตามช่วยเหลือให้กลับมาดำรงชีวิตในสังคมอย่างยั่งยืน นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)  กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหายาเสพติดกลายเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน สบยช. เป็นหน่วยงานหลักของกรมการแพทย์ ที่มีภารกิจในการบำบัดรักษายาเสพติดทุกชนิด ทั้งในรูปแบบของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศในรูปแบบเชิงบูรณาการ ส่งเสริมการบำบัดรักษาโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดการดูแลอย่างต่อเนื่อง ในโอกาสวันต่อต้านยาเสพติดโลก

อย. เปิดบริการรูปแบบใหม่ ตรวจ ปล่อย สินค้าผ่านด่าน ง่าย ๆ เพียงยื่นบัตรประชาชนใบเดียว

อย. เปิดบริการรูปแบบใหม่ ยื่นบัตรประชาชนใบเดียว สามารถออกของที่ได้รับอนุญาตจากระบบ eSubmission ของกองด่านอาหารและยา ลดระยะเวลา ลดความซ้ำซ้อน ลดการใช้กระดาษเพื่อรักษ์สิ่งแวดล้อมและตรวจสอบสิทธิการออกของของตัวแทนได้ทุกด่านพร้อมกัน ง่าย ๆ ลดขั้นตอน เพิ่มการอำนวยความสะดวก รองรับนโยบาย FDA Digital Transformation นำองค์กรไปสู่ความรวดเร็ว ปลอดภัย นำไทยสู่สากล  วันนี้ 26 มิถุนายน 2566 ณ ด่านอาหารและยาท่าเรือกรุงเทพ นายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธานเปิดงานประชาสัมพันธ์กระบวนการออกของง่ายกว่าที่คิดซึ่งแนวคิดการดำเนินงานมาจากการที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายประเทศไทย 4.0 เน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนระบบราชการให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนของหน่วยงานรัฐ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาองค์กรสู่ดิจิทัล

รู้จัก “ชิคุนกุนยา” โรคร้ายที่มาพร้อมกับยุงลาย

กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลราชวิถี ชี้ โรคชิคุนกุนยาเป็นโรคที่มีความรุนแรงแต่ไม่อันตรายเท่าโรคไข้เลือดออก พบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน แนะป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หากมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน ปวดข้อ ผื่นขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดี กรมการแพทย์ กล่าวว่า “โรคชิคุนกุนยา” (Chikungunya) หรือ “โรคไข้ปวดข้อยุงลาย” เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มียุงลายสวนและยุงลายบ้านเป็นพาหะนำโรค พบได้ในทุกกลุ่มอายุ รวมทั้งเด็กเล็ก มีอาการคล้ายกับโรคไข้เลือดออกแต่ไม่รุนแรงเท่า โรคชิคุนกุนยามักไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเรื้อรังต่อเนื่อง สำหรับในรายที่รุนแรงอาจพบเกล็ดเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ แต่พบได้น้อยมาก โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยากัด จะมีระยะฟักตัวของโรค 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยจะอยู่ที่ประมาณ 3-7 วัน นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อครบระยะฟักตัวผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน โดยอาจสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2-4

อย. ชวนตรวจสอบยาเสพติดก่อนทำลายให้สิ้นซาก กว่า 32 ตัน มูลค่า 21,419 ล้านบาท

อย. และหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมตรวจสอบยาเสพติดของกลาง น้ำหนักรวมกว่า 32 ตัน มูลค่า 21,419 ล้านบาท  ณ คลังยาเสพติดของกลาง อาคาร 6 ชั้น 1 ตึก อย. อย่างโปร่งใส ก่อนนำไปทำลายครั้งที่ 56 ในวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ณ บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ  ซึ่งในการทำลายยาเสพติดครั้งนี้ ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NG) ในการเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,200 °C พร้อมทั้งระบบควบคุมสารมลพิษที่เหลือจากการทำลายที่ทันสมัย มั่นใจได้ว่าไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ตรงตามมาตรฐานสากล US EPA ในการกำจัดขยะอุตสาหกรรมอันตราย      นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดว่าด้วยการตรวจรับ การตรวจพิสูจน์ การเก็บรักษา การทำลาย

Translate »